วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

     ปัจจุบันเราทราบดีแล้วว่า สิ่งแวดล้อมของโลกได้ถูกมนุษย์ทำลายลงเป็นอย่างมาก เช่น การ ตัดไม้ทำลายป่า การกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก (green house effect) การใช้ สารเคมีในการปราบศัตรูพืชมากเกินไป ทำให้เกิดผลตามมา เช่น แมลงดื้อยา ดินเสื่อมสภาพ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปของสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ทุกชนิดบนโลก รวมทั้งมนุษย์ด้วยอย่างแน่นอน
     ดังนั้น เราจึงหันมาให้ความสนใจในการที่จะดูแลรักาาสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ในสภาพที่ดีอย่างยั่ง ยืน โดยมีหลักการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน คือ
  1. การรักษาสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึง
    • การอนุรักษ์ทรัพยากร
    • ควบคุมการปล่อยของเสียสู่ธรรมชาติ
  2. การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นคุณค่า
  3. ควบคุมจำนวนประชากร เพื่อลดความต้องการการใช้ทรัพยากรของมนุษย์
  4. ลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดศัตรูพืชแทน
     ในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสมและได้รับประโยชน์สูงสุด ควรคำนึง ถึงหลักต่อไปนี้
  1. การอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่นควบคู่ กันไป เพราะทรัพยากรธรรมชาติต่างก็มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และส่งผลต่อกันอย่างแยก ไม่ได้
  2. การวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด ต้องเชื่อมโยงกับการพัฒนา สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และคุณภาพชีวิตอย่างกลมกลืน ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งความสม ดุลของระบบนิเวศควบคู่กันไป
  3. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ทั้งประชาชนในเมือง ในชนบท และ ผู้บริหารทุกคนควรตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา โดย เริ่มต้นที่ตนเองและท้องถิ่นของตน ร่วมมือกันทั้งภายในประเทศและทั้งโลก
  4. ความสำเร็จของการพัฒนาประเทศ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์และความปลอดภัยของ ทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นการทำลายมรดก และ อนาคตของชาติด้วย
  5. ประเทศมหาอำนาจที่เจริญทางด้านอุตสาหกรรม มีความต้องการทรัพยากรธรรมชาติเป็น จำนวนมาก เพื่อใช้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศของตน ดังนั้นประเทศที่กำลัง พัฒนาทั้งหลายจึงต้องช่วยกันป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจ
  6. มนุษย์สามารถนำเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ แต่การจัด การนั้นไม่ควรมุ่งเพียงเพื่อการอยู่ดีกินดีเท่านั้น ต้องคำนึงถึงผลดีทางด้านจิตใจ ด้วยการ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมแต่ละแห่งนั้น จำเป็นต้องมีความรู้ในการรักษาทรัพยา กรธรรมชาติ ที่จะให้ประโยชน์แก่มนุษย์ทุกแง่ทุกมุมทั้งข้อดี และข้อเสียโดยคำนึงถึงการ สูญเปล่าอันเกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วย
  7. รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นและหายาก ด้วยความระมัดระวังพร้อมทั้งประโยชน์และ การทำให้อยู่ในสภาพที่เพิ่มทั้งทางด้านกายภาพ และเศรษฐกิจเท่าที่ทำได้ รวมทั้งจะต้อง ตระหนักเสมอว่าการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มากเกินไป จะไม่เป็นการปลอดภัยต่อสิ่งแวด ล้อม
  8. ต้องรักษาทรัพยากรที่ทดแทนได้ โดยให้มีอัตราการผลิตเท่ากับอัตราการใช้ หรืออัตราการ เกิดเท่ากับอัตราการตายเป็นอย่างน้อย
  9. หาทางปรับปรุงวิธีการใหม่ๆ ในการผลิต และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิ ภาพ อีกทั้งพยายามค้นคว้าสิ่งใหม่มาใช้ทดแทน
  10. ให้การศึกษาเพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
  1. การถนอม เป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติทั้งปริมาณและคุณภาพให้มีอยู่นานที่สุด โดย พยายามใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพ เช่น การเลือกจับปลาที่มีขนาดโตมาใช้ ในการบริโภค ไม่จับปลาที่มีขนาดเล็กเกินไป เพื่อให้ปลาเหล่านั้นได้มีโอกาสโตขึ้นมา แทนปลาที่ถูกจับไปบริโภคแล้ว
  2. การบูรณะซ่อมแซม เป็นการบุรณะซ่อมแซมทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดความเสียหาย ให้ มีสภาพเหมือนเดิมหรือเกือบเท่าเดิม บางครั้งอาจเรียกว่าพัฒนาก็ได้ เช่น ป่าไม้ถูกทำลาย หมดไป ควรมีการปลูกป่าขึ้นมาทดแทน จะทำให้มีพื้นที่บริเวณนั้นกลับคืนเป็นป่าไม้อีก ครั้งหนึ่ง
  3. การปรับปรุงและการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การนำแร่โลหะประเภทต่างๆ มาถลุง แล้วนำไปสร้างเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะให้ประโยชน์แก่มนุษย์เรา มากยิ่งขึ้น
  4. การนำมาใช้ใหม่ เป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่ เช่น เศษเหล็ก สามารถนำกลับมาหลอม แล้วแปรสภาพสำหรับการใช้ประโยชน์ใหม่ได้
  5. การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นการนำเอาทรัพยากรอย่างอื่นที่มีมากกว่าหรือหาง่ายกว่า มาใช้ ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติที่หายาก หรือกำลังขาดแคลน เช่น นำพลาสติกมาใช้แทน โลหะในบางส่วนของเครื่องจักรหรือยานพาหนะ
  6. การสำรวจหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มเติม เพื่อเตรียมไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคต เช่น การสำรวจแหล่งน้ำมันในอ่าวไทย ทำให้ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว อีกทั้งช่วยลดปริมาณการนำเข้า ก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศ
  7. การประดิษฐ์ของเทียมขึ้นมาใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณในการใช้ทรัพยากรธรรม ชาติชนิดอื่นๆ ที่นิยมใช้กัน ของเทียมที่ผลิตขึ้นมา เช่น ยางเทียม ผ้าเทียม และผ้าไหม เทียม เป็นต้น
  8. การเผยแพร่ความรู้ เป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่ และรัฐควรมีบทบาทในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยการวางแผนจัดทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวด ล้อมอย่างรัดกุม
  9. การจัดตั้งสมาคม เป็นการจัดตั้งสมาคมหรือชมรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม

1 ความคิดเห็น: